วิธีอยู่แบบเย็นๆโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ: “พัดลมทำความเย็น” หรือ

สัปดาห์ที่แล้ว อากาศร้อนขึ้น (อย่างน้อยก็ในภาคกลางของประเทศญี่ปุ่น) กับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 30องศาที่เมืองชิซูโอกะ และเพิ่มสูงขึ้นอีก (สูงถึง80-90ฟาเรนไฮท์) สามี และฉันยังคงไม่มีเครื่องปรับอากาศที่บ้าน ง่ายๆเลยเนื่องจากราคาของมัน บวกกับค่าติดตั้ง และค่าทำความสะอาดหลังจากนั้นอีก แต่ตอนนี้อายุครรภ์ของฉัน 33สัปดาห์แล้ว ฉันกำลังพบว่าตัวเองรู้สึกสิ้นหวังที่จะหาตัวช่วยที่ทำให้ตัวเองเย็นขึ้นในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา

ฉันไม่เคยรู้สึกอย่างนี้มาก่อน ฉันจำเป็นต้องมีเครื่องปรับอากาศตั้งแต่มาถึงประเทศญี่ปุ่นเมื่อ3ปีก่อน ฉันรู้สึกมีความสุขกับอากาศร้อนในฤดูร้อนที่ผ่านมา ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นบ่นมากกับเรื่องอากาศในหน้าร้อน (ถ้าพวกเขาไม่อยู่ในเมืองฮอกไกโด) แต่ฉันเกลียดอากาศหนาวมาก จึงทำให้ฉันรู้สึกผ่อนคลายเมื่อฤดูร้อนมาถึง)
จนกระทั่งเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว เมื่อพวกเรามีการบันทึกสถิติของอุณหภูมิที่สูง ซึ่งอากาศร้อนนี้อยู่จนกระทั่งเดือนตุลาคม แค่การนั่ง และทำงานที่บ้านนั้นเป็นอะไรที่ทรมานมาก ดังนั้นฉันจึงต้องเดินช้าๆไปยังร้านสตาร์บัคส์2-3ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อมีเครื่องปรับอากาศ เขตปลอดบุหรี่ และมีไวไฟให้ใช้ ฉันจึงสามารถทำงานให้เสร็จได้

และตอนนี้พวกเราอยู่ในช่วงฤดูร้อนของปี2011 อุณหภูมิลักษณะนี้เป็นเหมือนกับเมื่อบางวันของปีที่แล้ว ฉันกำลังพยายามผ่านอากาศร้อนแบนี้ไปให้ได้เท่าที่ฉันจะสามารถทำได้ แต่เพราะความร้อนจากลูกของฉันในท้อง และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นถึง10กก. ทำให้ฉันรู้สึกร้อนยิ่งขึ้นกว่าที่ฉันรู้สึกเมื่อปีที่ผ่านมา
หลังจากที่ฉันรู้สึกแย่มากในวันถัดมาจากการพยายามทำงานในบ้าน (และฉันยังคงพยายามออกไปข้างนอกในตอนบ่าย และไปอยู่ที่สถานที่มีเครื่องปรับอากาศ) ฉันใกล้จะพร้อมประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศของฉันขึ้นมาเองแล้ว

ฉันพบว่าบทความนี้ เป็นบทความที่บอกวิธีการประดิษฐ์พัดลมทดแทนขึ้นมาใช้ชั่วคราว กล่องโฟมเก็บความเย็น น้ำแข็ง และฉันได้วางแผนอย่างจริงจังที่จะออกไปหาซื้อวัสดุมาทำ พัดลมไฟฟ้าธรรมดานั้นไม่ได้ผล แม้กระทั่งพัดลมบนเพดานที่ส่ายไปทั่วก็ยังไม่ได้ผล การกินน้ำใส่น้ำแข็งช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และฉันต้องอาบน้ำเย็นหลายรอบในหนึ่งวัน
หลังจากนั้นสามีของฉันได้พูดถึงสิ่งที่เค้าได้ยินมา เกี่ยวกับเครื่องบางอย่างที่ใช้เป่าลมเย็นออกมา (ไม่นะ ไม่ใช่เครื่องปรับอากาศนะ) อย่างที่คนญี่ปุ่นรู้จัก นั่นคือ冷風扇 (れいふうせん, reifuusen), หรือ 冷風機 (れいふうき, reifuuki) หรือที่แปลความหมายอย่างตรงตัว คือ “เครื่อง/พัดลมทำความเย็น”
โดยพื้นฐานแล้ว คุณใส่น้ำเย็น และน้ำแข็ง หรือแพ็คน้ำแข็งใต้ก้นเครื่อง แล้วมันก็จะค่อยๆระเหยออกไป ความร้อนจะถูกดูดซึมโดยตัวเครื่อง และภายในตัวพัดลมนั้นจะเป่าความเย็นออกมาแทน ฉันไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องวิทยาศาสตร์ ดังนั้นนี่เป็นการอธิบายที่เกิดจากความเข้าใจของตัวฉันเอง ถ้าใครรู้เรื่องทางวิทยาศาสตร์ ช่วยแก้ไขให้ฉันด้วย ได้โปรดเถอะค่ะ!

The drawer at the bottom of the machine for water and ice/ice packs
ชั้นข้างใต้ของเครื่อง สำหรับใส่น้ำ และน้ำแข็งลงไป
พวกเราไปร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแถวบ้าน ที่ที่มีจำหน่ายเครื่องทำความเย็น2ยี่ห้อ และ2รุ่น ฉันซื้อแบบ “ประหยัด” มาหนึ่งตัว ในราคาประมาณ 8000เยน

ฉันแค่ใช้เครื่องนี้2-3วัน หรือมากกว่านั้น แต่มันช่วยฉันได้จริงๆ ทั้งๆที่มันไม่ใช่เครื่องปรับอากาศ แต่มันให้ความเย็นเหมือนพัดลม

ตัวเลือกของเครื่องทำความเย็นรุ่นนี้ ประกอบด้วย ปรับอากาศให้เย็น ความเร็วของพัดลม การหมุนของช่องลม 3โหมด (พัดลม โหมดพัก และตัวตั้งเวลา)

Ice tray at the top in the back to add ice for extra cooling
ถาดน้ำแข็งอยู่บนสุดของด้านหลัง มีเพื่อใส่น้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็นมากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม เครื่องทำความเย็นเหล่านี้ไม่ได้ดีจนไม่มีข้อติ และอาจสามารถแก้ปัญหาได้สำหรับแค่บางคนเท่านั้น

ข้อดี
ไม่กินไฟ (อย่างที่พวกเราได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่าราคาแค่1เยนต่อชั่วโมง)
ราคาตัวเครื่องไม่แพง
ความเย็นเป่าออกมา ซึ่งแตกต่างจากพัดลมทั่วไปที่เป่าเอาความร้อนออกมา

ข้อเสีย
เพราะเครื่องนี้ต้องใช้น้ำในการระเหยออกมา ทำให้มันมีความชื้นออกมากับลมที่เป่าด้วย นั่นหมายความว่ามันอาจส่งผลอันตรายต่อมนุษย์ได้ และอาจเพิ่มความชื้นมากเกินไปด้วย ถ้ายิ่งเราอยู่ในสถานที่ไม่มีอากาศถ่ายเทด้วย (พวกเราปล่อยให้ประตู และหน้าต่างเปิดตลอดเวลา ดังนั้นปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นกับพวกเรา) โดยส่วนตัวแล้ว ฉันไม่ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงของความชื้นมากนัก (ทั้งที่บางทีมันชื้นอยู่แล้ว) และอากาศยังคงทำให้ฉันรู้สึกเย็นอยู่ดี
มันให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกับเครื่องปรับอากาศ อย่างที่บอกมันจะไม่ดูดความชื้น และไม่เย็นทั่วห้อง แต่จะเย็นแค่เฉพาะพื้นที่ขนาดเล็ก
ลมของพัดลมทำความเย็นไม่สามารถทำให้เย็นได้เท่าเครื่องปรับอากาศ คุณสามารถปรับอุณหภูมิของลมได้เพียงวิธีเดียว คือการใส่น้ำ กับน้ำแข็ง ทำให้น้ำเย็นขึ้น จึงทำให้ลมที่เป่าออกมาเย็นขึ้นด้วยเช่นกัน

ดังนั้น มันจะคุ้มค่าในการซื้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่ และลักษณะการใช้ชีวิตของคุณ พวกเราต้องการประหยัดเงิน และต้องการแค่สิ่งบางอย่างที่จะมาช่วยทำให้ฉันเย็นขึ้น ดังนั้นสำหรับพวกเรา ข้อเสียจึงไม่มีผลอะไร ฉันสามารถใช้เครื่องดูดความชื้น และถ่านทาเกะซูมิ เพื่อช่วยรักษาสมดุลของความชื้นในบ้านของพวกเรา และจากลมนอกห้องเพื่อช่วยให้อากาศหมุนเวียน และเพื่อปรับความชื้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการบางอย่างที่คุณสามารถใช้ได้กับหน้าต่าง หรือประตูทุกบานที่ปิดอยู่ แล้วสามารถดูดความชื้นได้ คุณอาจจะเหมาะกับเครื่องปรับอากาศ

คุณสามารถหาพัดลมทำความเย็นเหล่านี้ได้ที่ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแถวบ้านคุณ ถึงแม้ว่าบางร้านจะไม่มี (หรืออาจขายหมดไปแล้ว… ร้านค้าแถวบ้านเราก็ขายหมดเช่นกัน) เว็บAmazon Japanยังคงมีจำหน่าย2-3ยี่ห้อ [ลิงค์ที่แนบมา]

มีใครเคยลอง冷風扇หรือยังคะ?

คู่มือสำหรับการเลือกซื้อเครื่องทำความร้อนในประเทศญี่ปุ่น

ตามที่ฉันได้เขียนเกี่ยวกับwinterize your apartment or house in Japan ในช่วง2-3สัปดาห์ที่ผ่านมา สัปดาห์นี้ฉันอยากพูดเกี่ยวกับเครื่องทำความร้อน อย่างที่รู้ว่าบ้านส่วนใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ติดตั้งเครื่องทำความร้อนไว้ที่ใต้ตึก ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงต้องอาศัยเครื่องทำความร้อนแบบติดตั้งเอง และเครื่องที่มีลักษณะคล้ายแบบนี้ ตอนนี้พวกเรารู้อยู่ว่าการใส่เสื้อผ้าหลายตัว และใส่เสื้อขนแกะ ก็เป็นทางออกที่ดี โดยไม่ต้องเปิดเครื่องทำความร้อน แต่ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องใช้เครื่องทำความร้อนอยู่ในบางครั้ง

แจ้งเพื่อทราบว่าฉันเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านเครื่องทำความร้อน ดังนั้นถ้าคุณสงสัยการทำงานของเครื่องทำความร้อนในทางที่ถูกต้อง ให้คุณลองเข้าไปหาได้ในgoogle

เครื่องทำความร้อนส่วนใหญ่ที่อยู่ด้านล่างนี้ มีเครื่องตั้งเวลา และมีตัวเลือกสั่งให้ปิดได้แบบอัตโนมัติ และมีการออกแบบมาให้ปิดอัตโนมัติถ้ามีการใช้งานมากเกินไป
*จำไว้ว่าคำว่าเครื่องทำความร้อน อาจใช้คำว่า電気ストーブ (denki stobu)
*คำที่ใช้สำหรับ “การทำความร้อน” คือ暖房 (だんぼう, danbou)

คู่มือสำหรับการเลือกซื้อเครื่องทำความร้อนในประเทศญี่ปุ่น

1. แอร์คอน エアコン
เครื่องปรับอากาศ หรือที่ชาวญี่ปุ่นชอบเรียกกันว่า แอร์คอน ส่วนใหญ่แอร์คอน จะติดตั้งโดยมีตัวเลือกการทำความร้อนรวมอยู่ด้วย ดังนั้นถ้าคุณแอร์คอน คุณอาจต้องลองตรวจสอบดูว่ามีไหม (โดยหาคำว่า “暖房” ) จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มันค่อนข้างได้ผลดีในการให้ความอุ่นกับห้อง แต่ฉันพบว่าความร้อนจะพุ่งขึ้นไปบนเพดานห้อง ทำให้ความร้อนกระจายไปทั่ว มันไม่เหมาะถ้าคุณใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งอยู่บนพื้น และไม่มีพัดลมบนเพดาน

แล้วฉันก็พบว่าราคาของแอร์คอนนั้นแพงอย่างไม่น่าเชื่อ บางรุ่นใช้ที่ให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง (มองหาคำว่า省エネด้านนอกกล่อง หรือที่คำอธิบาย) แอร์คอนเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีราคาแพง ซึ่งราคาจะอยู่ที่ 30,000-40,000เยน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับขนาด

2.เครื่องทำความร้อนแบบใช้น้ำมัน オイルヒーター
เครื่องทำความร้อนนี้ เป็นเหมือนเครื่องนำความร้อน และบางคนอาจคุ้นเคยกับเครื่องนี้แล้ว ครอบครัวของฉันเคยใช้เครื่องนี้เมื่อฉันยังเด็ก แต่ถึงแม้ว่ามันได้ผลดีมาก แต่มันก็ใช้พลังงานมากด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน จึงต้องเปรียบเทียบกับการใช้พลังงาน บางรุ่นที่ฉันเห็น เป็นแบบสูงุด1200วัตต์ โดยเฉลี่ยการใช้แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 15-20เยน ต่อชั่วโมง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้) ราคาตัวเครื่องนี้ประมาณ 5,000-30,000เยน แต่สามารถหาซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่านี้ที่ร้านจำหน่ายสินค้ารีไซเคิล (คุณสามารถหาซื้อรุ่นอื่นที่ราคาถูกกว่าตามท้องตลาดได้ที่ร้านแบบนี้ได้เช่นเดียวกัน)

3. กระดานทำความร้อน パネルヒーター
เครื่องทำความร้อนลักษณะนี้จะเหมือนไม้กระดาน ฉันไม่เคยใช้ตัวนี้ ดังนั้นฉันไม่สามารถบอกได้ถึงประสิทธิภาพของมัน สำหรับเครื่องขนาดเล็ก จะใช้ไฟประมาณ 300 วัตต์ หรือน้อยกว่านั้น และอาจใช้ประมาณ 5-7เยน ต่อชั่วโมง เครื่องที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น จะแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับขนาด และระดับพลังงานที่คุณต้องการ ฉันพบว่าบางรุ่นบอกไว้ว่า ใช้พลังงานเพียงแค่ 9 เยนต่อชั่วโมง และรุ่นอื่นๆเลี่ยนประมาณ 15 เยนต่อชั่วโมง กระดานขนาดเล็กมาก อยู่ที่ประมาณ 3,000เยน ในขณะที่ขนาดใหญ่กว่า ราคาเฉลี่ยประมาณ 20,000-30,000เยน

4.เครื่องทำความร้อนแบบแฮโลเจน ハロゲンヒーター
ดูจากรูปภาพ เครื่องทำความร้อนแบบแฮโลเจน ก็เหมือนเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าแบบอื่น แต่ต่างกันที่ระดับการใช้พลังงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องทำความร้อนด้วย แน่นอนว่าคุณสามารถซื้อเครื่องขนาดเล็กที่มีกำลังจ่ายไฟอยู่ที่ประมาณ 300วัตต์ หรือขนาดใหญ่ที่มีมากกว่า 1200วัตต์ (หรืออยู่ในระหว่าง300-1200วัตต์)

5.เครื่องทำความร้อนแบบคาร์บอน カーボンヒーター

ฉันใช้แบบนี้บ่อยในช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะตั้งค่าให้ใช้พลังงานต่ำ เครื่องนี้คล้ายกับเครื่องทำความร้อนแบบแฮโลเจน แต่ตัวนี้บอกว่าให้ความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องทำความร้อนแบบแฮโลเจนธรมดา ฉันบอกตรงๆเลยว่า ฉันชอบเครื่องนี้มาก และมันประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องทำความร้อนแบบเซรามิค
แน่นอนว่าราคานั้นก็จะแตกต่างกันออกไปตามขนาด และระบบการปฏิบัติการของเครื่องแต่ละรุ่น เช่น รุ่นที่มีกำลังจ่ายไฟสูงสุด 300วัตต์ ใช้พลังงานไป 6 เยนต่อชั่วโมง เครื่องทำความร้อนในบ้านของพวกเราสูงสุด 900วัตต์ และปรับให้ใช้พลังงานต่ำกว่าครึ่ง และฉันขอบอกตามตรงเลยว่าฉันไม่ค่อยปรับให้ใช้พลังงานสู.สุด เพราะว่ามันจะร้อน และทำให้คุณอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว เหตุผลที่เราเลือกเครื่องทำความร้อนแบบคาร์บอน เพราะว่ามันใช้พลังงานไม่มาก และมีประสิทธิภาพที่ดีด้วยเช่นกัน เครื่องทำความร้อนแบบคาร์บอน อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกของเครื่องทำความร้อนที่ถูกที่สุด และมีประสิทธิภาพดีที่สุดในบรรดาเครื่องทำความร้อนแบบใช้ไฟฟ้า

6.เครื่องทำความร้อนแบบเซรามิค セラミックヒーター
เครื่องทำความร้อนเหล่านี้ มีราคาแพงกว่าเครื่องทำความร้อนแบบอื่น ในส่วนของการใช้พลังงานนะ แต่ฉันพบว่าบางรุ่นก็บอกไว้ว่ามีประสิทธิภาพสูง นอกจากนั้นคุณสามารถซื้อเครื่องทำความร้อนแบบเซรามิคที่มีการกรองอากาศ และที่ดูดความชื้นได้ด้วย (คุณสามารถซื้อได้แบบ 3-in-1 ในราคา 20,000-30,000เยน) โดยส่วนใหญ่การจ่ายไฟอยู่ที่ประมาณ 1100-1200วัตต์ ซึ่งแต่ละชั่วโมงจะใช้พลังงานไป 25-30เยน ถ้าในกรณีปรับให้ต่ำสุด ก็สามารถประหยัดไปได้ประมาณครึ่งหนึ่ง

Ceramic heater with a built-in humidifier

“คุณสามารถพาซื้อเครื่องทำความร้อนไฟฟ้าแบบพัดลม (ファンヒーター) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเครื่องทำความร้อนแบบเซรามิค”

7. เครื่องทำความร้อนแบบน้ำมันก๊าด 石油ヒーター (せきゆ, sekiyu แปลว่า น้ำมัน หรือน้ำมันก๊าด)

ปัจจุบันนี้ คุณสามารถคาดหวังได้เลยว่าเครื่องทำความร้อนแบบน้ำมันก๊าด จะทำให้ค่าไฟของคุณต่ำ แต่คุณจะต้องซื้อเครื่องทำความร้อนแบบน้ำมันก๊าดนี้ สิ่งที่ดีของเครื่องนี้คือ น้ำมันก๊าดเป็นของที่มีราคาถูก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแบบไฟฟ้า และเครื่องทำความร้อนแบบน้ำมันก๊าดนี้ ใช้โดยทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น โดยส่วนตัวแล้วฉันกังวลมากเกี่ยวกับสารเคมีจากน้ำมันก๊าดนี้ ดังนั้นฉันจึงเลือกที่จะไม่ใช้เครื่องนี้ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ใช้มัน ถ้าคุณเลือกที่จะใช้เครื่องนี้แล้ว ต้องมั่นใจว่าบ้านของคุณมีอากาศถ่ายเทสะดวก เช่น การเปิดหน้าต่าง ฉันรู้ว่าคุณสมบัติของเครื่องนี้ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ฉันก็เห็นด้วย แต่คุณคงไม่ต้องการให้สารคาร์บอน มอนอไซด์ เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อตัวคุณได้
*หมายเหตุ: คำที่ใช้สำหรับ น้ำมันก๊าด คือ灯油 (とうゆ, touyu) ใช้มากกว่าคำว่า石油 แต่เครื่องทำความร้อนแบบแก๊สทั้งหมดจะถูกเรียกว่า石油 *เครื่องทำความร้อนบางตัว ถูกเรียกว่า เครื่องทำความร้อนแบบใช้แก๊ส (ガスヒーター) และปรากฏว่าใช้แก๊สตัวเดียวกับเราใช้กับเตาอบ

8. โคะตาสึ こたつ
ฉันแวะไปที่บทความเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมพาร์ทเม้นท์ หรือบ้านในช่วงฤดูหนาว แต่โต๊ะโคะตาสึ เป็นโต๊ะตัวเตี้ยที่ติดที่ทำความร้อนไว้บนโต๊ะ แล้วคุณก็วางผ้าห่มผืนหนาระหว่างแผ่นกระดาน2แผ่นบนโต๊ะ แล้วนำเข้าของคุณสอดเข้าไป จะทำให้รู้สึกดี และสบาย คุณสามารถหาซื้อโต๊ะโคะตาสึได้ทั่วไป มีหลายสี และหลายแบบ โดยเฉลี่ยแล้วราคาจะอยู่ที่ประมาณ 5,000-20,000เยน หรือบางแบบอาจมีราคาสูงกว่านี้

9.พรมร้อน ホットカーペット

โดยทั่วไปแล้ว พรมร้อนเป็นเพียงพรมที่คุณต้องเสียบปลั๊กแล้วใช้งาน อาจช่วยคุณได้มากถ้าคุณนั่งอยู่บนพื้นห้องธรรมดา หรือแค่ต้องการให้ความอบอุ่นกับห้องนั่งเล่นของคุณ เครื่องที่มีราคาถูกจะอยู่ที่ประมาณ5,000เยน แต่คุณสามารถหาซื้อบางอย่างที่เป็นพื้นไม้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งราคาจะสูงกว่า อยู่ที่ประมาณ 12,000-20,000เยน
10.ผ้าห่มไฟฟ้า電気毛布 (でんきもうふ, denki moufu)

ฉันจำเป็นต้องพูดเกี่ยวกับสิ่งนี้อีกไหม? ผ้าห่มนี้เหมาะแก่การใช้นอนในห้องที่มีอากาศเย็น หรือคุณอยากใช้มันเพื่อทำให้ร่างกายอุ่นโดยไม่ต้องใช้เครื่องทำความร้อน อย่างไรก็ตาม ผ้าห่มส่วนใหญ่ที่ฉันเห็นนั้นจะมีคุณภาพต่ำ จากประสบการณ์ของฉัน ผ้าห่มไฟฟ้าจากประเทศอเมริกานั้น มีคุณภาพดีกว่ามาก เมื่อเทียบกับแบบอื่น (ฉันไม่มั่นใจว่าของประเทศแถบยุโรปนั้นเป็นอย่างไร แต่ฉันเดาว่าน่าจะมีคุณภาพดีเหมือนกัน ใช่ไหม?) ฉันเป็นคนเลือกเยอะ แต่ถ้ามันดี ฉันก็ไม่สามารถโต้เถียงอะไรได้มาก ถ้าคุณยอมเสียเงิน 13,000เยน เพื่อผ้าห่มไฟฟ้าของPanasonic เมื่อเทียบกับผ้าห่มราคาถูก 4,000เยน ที่เห็นได้ตามร้านทั่วไป นั่นแหละ คุณจะมีผ้าห่มคุณภาพที่ดีกว่ามาครอบครอง

อื่นๆ
โอเค ฉันพึ่งค้นพบเครื่องช่วยทำให้เท่าอุ่นขึ้น และจากที่ฉันใช้ส่วนใหญ่กับสามีของฉัน ฉันพบว่ามันพกพาสะดวก มีหลายแบบให้เลือก แต่แบบทั่วไปเป็นแบบที่นำไปติดที่เท้าของคุณ และใช้ไฟฟ้าในความให้ความร้อน ฉันเชื่อว่ามีแบบอื่นๆอีกมากมายที่อาจใช้กับน้ำร้อนในกรณีพิเศษ สำหรับเครื่องช่วยให้เท้าอุ่นนั้น คุณต้องใช้คำว่า足温器 (そくおんき, sokuonki).

Foot warmer

สำหรับไอเดียอื่นๆ คุณสามารถเข้าไปดูได้ที่ Amazon.jp มีสินค้าหลายแบบให้คุณเลือก

คุณสามารถหาสินค้าประเภทนี้ได้มากมายหลายแบบ ที่สามารถช่วยให้คุณรู้สึกดี และมีความสุขกับช่วงอากาศหนาว และแห้งในฤดูหนาวที่ประเทศญี่ปุ่น แต่นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง สำหรับเครื่องทำความร้อนนั้น คุณอาจโชคดี และพบตัวเลือกหลายแบบที่ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า (ใช้คำว่า電器, でんき) แต่ร้านขายวัสดุก่อสร้างท้องถิ่น หรือร้านขายของใช้ทั่วไป อาจมีเครื่องทำความร้อนจำหน่ายด้วยก็เป็นได้ หรือคุณอาจสั่งซื้อผ่านเว็บamazon.jp (เป็นทางเลือกที่คุณไม่ต้องกังวลถ้าไม่มีรถขนสินค้ากลับมาที่บ้าน)
ขอให้สนุกกับการล่าหาเครื่องทำความร้อน แล้วยังไงก็ทำให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลาด้วยล่ะ

8 วิธีในการเตรียมอพาร์ทเม้นท์(หรือบ้าน)ของคุณ ให้พร้อมสำหรับฤดูหนาว

บ้านของคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเก่า หรือใหม่ ก็ขึ้นชื่อเรื่องของประสิทธิภาพที่ไม่ดีเรื่องการเก็บความร้อน อพาร์ทเม้นท์ส่วนใหญ่ค่อนข้างเย็น โดยเฉพาะอพาร์ทเม้นท์ที่เก่า และมีหน้าต่างบานเดี่ยว กับหน้าต่างบานคู่ อย่าพูดถึงว่าไม่มีเครื่องทำความอุ่น และฉนวนความร้อน แน่นอนว่าเครื่องนี้ช่วยได้ไม่มากก็น้อยในช่วงฤดูร้อน และฤดูหนาวในหลายเดือน แต่ในช่วงฤดูหนาว มันอาจลำบากหน่อย (แม้ว่าฉันจะอยู่ในเมืองฮอกไกโด แต่มันอาจแตกต่างกันนิดหน่อย และถ้าคุณอยู่ไกลไปทางตอนใต้ อย่างเมืองโอกินาวา อาจไม่ประสบปัญหาดังกล่าวมากนัก) ดังนั้นวิธีการที่คุณทำให้บ้านของคุณอุ่น และการแก้ปัญหาอากาศหนาวจากข้างนอกอย่างไร?

8 วิธีในการเตรียมอพาร์ทเม้นท์(หรือบ้าน)ของคุณ ให้พร้อมสำหรับฤดูหนาว

1.ทำฉนวนความร้อนที่หน้าต่าง!

หนึ่งในสิ่งที่ประหยัดที่สุด (และมีประสิทธิภาพสูง) ที่นำมาทำฉนวน คือการซื้อแผ่นบับเบิ้ลกันกระแทกแบบม้วน คุณสามารถหาซื้อได้ที่ร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป และราคาอยู่แค่ประมาณ2-300เยน ขึ้นอยู่กับความยาวของม้วน วิธีทำก็ง่าย แค่ทำความสะอาดบานหน้าต่าง และประตู ตัดแผ่นบับเบิ้ลให้ได้ขนาดตามบาน และติดแผ่นบับเบิ้ลลงไปที่บานนั้น ข้อดีของแผ่นบับเบิ้ล คือคุณสามารถเก็บมันไว้ใช้ต่อในปีหน้าได้อีก

2.ปิดร่องกรอบของหน้าต่าง และประตู

แม้ว่าอพาร์ทเม้นท์ที่ใหม่กว่านั้น ขอบของหน้าต่าง และประตู ส่วนใหญ่จะมีลมเย็นพัดเข้ามา แน่นอนว่าคุณสามารถใช้ส่วนที่เหลือจากแผ่นบับเบิ้ลนั้น (ถ้าคุณยังคงมีเหลืออยู่บ้าง) อุดช่องว่างเหล่านั้น และอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยปิดช่องว่างเหล่านั้นได้ คือการใช้ すきまテープ (sukima teepu) ที่ใช่สำหรับปิดช่องว่างเหล่านี้โดยเฉพาะเลย รุ่นที่ถูกจะทำมาจากโฟม กับด้านหลังที่ใช้กาวติด คุณสามารถใช้ปิดช่องว่างรอบกรอบประตู และหน้าต่างได้ แล้วตัวผลิตภัณฑ์ยังบอกอีกว่าสามารถดักจับฝุ่นภายนอกได้ด้วย รุ่นอื่นๆจะทำมาจากวัสดุที่พิเศษกว่า (ที่ไม่ได้ทำจากโฟม) สามารถใช้ปิดช่องว่างของกรอบได้เหมือนกัน (แต่จะมีราคาที่แพงกว่า)

3.ใช้แผ่นกระดานติดที่ด้านล่างของหน้าต่าง และประตู

แผ่นกระดาน (ストップパネル) หรือ แผ่นกระดาน “โคซี่” (ぬくぬくボード) (ซึ่งอาจมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก) อาจทำมาจากพลาสติก หรือโฟมหนากับด้านข้างที่เป็นแผ่นเงินสะท้อน ที่คุณสามารถวางไว้ที่ด้านล่างของประตู หรือหน้าต่าง ตัวหนังสือบนฉลากของสินค้าส่วนใหญ่จะเป็น窓際 (まどぎわ, madogiwa, ใช้สำหรับ “โดย” หรือ “ที่” หน้าต่าง)
*สินค้าที่คล้ายกัน เป็นแผ่นรองที่มีแผ่นเงินสะท้อนติดอยู่ คุณสามารถนอนลงบนพรมลักษณะนี้ได้ด้วยเช่นกัน
*นอกเหนือจากที่กล่าวมาด้านบน คุณสามารถซื้อเทปแบบพิเศษ หรือแผ่นกระดานที่ทำจากโฟม ในกรณีที่มีไอน้ำเกาะ

นี่เป็นเทปพลาสติกที่คุณสามารถติดไปตรงช่องว่างระหว่างประตูเพื่อไม่ให้ลมเข้า

4. หาม่านที่มีความหนา

แม่ของฉันใช้ผ้าม่านที่มีความหนาในช่วงฤดูหนาว เมื่ออากาศนั้นต่ำลง ในกรณีที่เป็นหน้าต่างแบบบานคู่ ถ้าอากาศหนาวมากจริงๆ ให้ลองซื้อผ้าม่านหนาๆ (カーテン) หรืออย่างน้อยก็นำผ้าห่มหนาผืนเก่ามาตัด แล้วแขวนแทน

5.ซื้อเครื่องทำความร้อนมา (หรือฮีทเตอร์…)

แน่นอนว่าสิ่งนี้อาจเป็นตัวเลือกแรกของใครบางคน มีหลายแบบให้เลือกสำหรับเครื่องทำความร้อนนี้ โดยส่วนตัวแล้ว ฉันชอบแบบไฟฟ้า (คาร์บอน)มากกว่า และฉันพบว่าตัวนี้ใช้พลังงานน้อยที่สุด แต่มีเซรามิค ฮาโลเกน คีโรเซน หรือน้ำมัน บางรุ่นอาจมีฉลากติดว่า “เตาอบ” แทนที่จะเป็นคำว่า เครื่องทำความร้อน (ดูได้จากด้านล่าง) แล้วถ้าคุณมีเครื่องปรับอากาศแล้ว บางรุ่นจะมีเครื่องทำความร้อนไปในตัวด้วยเช่นกัน ถ้ามันยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ก็ยังมีเตาอบไม้อยู่
ヒーター (hiitaa) เครื่องทำความร้อน
カーボン (kaabon) คาร์บอน
セラミック (seramikku) เซรามิค
電気 (でんき, denki) ไฟฟ้า
オイル (oiru) น้ำมัน
ストーブ (suto-bu) เตาอบ
石油 (せきゆ, sekiyu) น้ำมัน หรือคีโรเซน

*แซลลี่ แจ้งฉันมาในคอมเม้นท์ว่า คีโรเซนที่ถูกต้อง ต้องใช้คำว่า灯油 (とうゆ, touyu) อย่างไรก็ตาม เว็บAmazon.jp ขึ้นคำว่าเครื่องทำความร้อนที่ทำมาจากแก๊ส หรือคีโรเซน ด้วยคำว่า石油 แต่ฉันเดาว่า คำนี้ใช้เมื่อคุณต้องการซื้อแค่เครื่องทำความร้อนจากแก๊สแบบธรรมดา แต่เมื่อคุณจะซื้อแบบคีโรเซน คุณจะต้องใช้คำว่า灯油, ไม่ใช่ 石油. (ขอบคุณค่ะ แซลลี่!)

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ How to heat your home and stay warm in Japan this winter and A guide to heaters in Japan

6. โคะตาสึ (こたつ)
สิ่งประดิษฐ์ที่น่ารักนี้ คือโต๊ะตัวเตี้ย กับเครื่องมือทำความร้อนที่แขวนจากใต้โต๊ะ โดยนำผ้าห่มผืนหนา และสบาย ทับโดยกระดาน 2แผ่นด้านบน แล้วนั่นแหละ! มันดีต่อการทำงาน หรือกินอาหารบนโต๊ะ คุณสามารถนั่งอยู่ได้อย่างอบอุ่น และสบายใต้ผ้าห่มนั้น

7.ถ้าคุณมีฟูกนอน ให้นำแผ่นทำความร้อนไปติด หรือใช้ผ้าห่มไฟฟ้า
ฉันสังเกตว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเห็นในประเทศญี่ปุ่น แต่โชคดีที่ฉันมีฟูกอยู่อันนึงที่นำมาจากบ้านของฉันเอง เมื่อครั้งก่อน มันดีมากเลยที่เตียงนี้ให้ความอุ่นได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องทำความร้อนตลอดคืน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถซื้อผ้าห่มไฟฟ้าได้ง่ายตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป หรือร้านขายวัสดุในบ้าน คุณสามารถค้นหาคำว่า電気ひざ掛け毛布 (でんき ひざ かけ もうふ). 電気 แปลว่า ไฟฟ้า และคำว่า 毛布 แปลว่า ผ้าห่ม เว็บAmazon.jp มีจำหน่ายอยู่บ้างเล็กน้อย

8.เครื่องดูดความชื้น
ตัวนี้ไม่ใช้เครื่องให้ความร้อน หรือไล่ความเย็นออกไป แต่มันใช้ดีในช่วงอากาศแห้งในฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่น อย่างน้อยมันทำให้เราหายใจง่ายขึ้นในตอนกลางคืน พวกเราพบว่าเครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องดูดความชื้นนั้น สามารถปรับอัตโนมัติ เพื่อป้องกันปริมาณความชื้นที่มีมากเกินไป และปรับคุณภาพอากาศให้ดี คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าได้ว่าคุณต้องการจะให้ปรับแบบอัตโนมัติ หรือปรับเอง แต่แบบ2in1ลดราคาไม่มาก สำหรับเครื่องดูดความชื้น คุณสามารถใช้คำว่า 加湿器 (かしつき, kashitsuki)

จริงๆแล้วมีทางเลือกอีกมากมายที่ทำให้ตัวคุณอุ่น (ขนแกะก็เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมมาก…) แต่ฉันอยากแบ่งปันไอเดียสำหรับเตรียมความพร้อมในหน้าหนาวหลายเดือนที่กำลังจะมาถึง แล้วคุณล่ะ มีวิธีเตรียมตัวอย่างไรในฤดูหนาว?

ดับกลิ่น และถ่านชาร์โคลชนิดต่างๆ

คุณอาจจำบทความเมื่อ2-3เดือนที่ผ่านมาเกี่ยวกับทาเกะซูมิ หรือที่รู้จักกันว่าถ่านไม้ไผ่ นี่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับครัวเรือน ประกอบด้วย การดับกลิ่น การรักษาความสมดุลของระดับความชื้น และการรักษาความสดใหม่ของตู้เย็นให้ยาวนานขึ้น ดูได้จากบทความเรื่อง 6 Reasons You Should Use Bamboo Charcoal (Takesumi)

เมื่อเร็วๆนี้มีร้านสะดวกซื้อที่จำหน่ายถ่านชนิดนี้มากขึ้น ฉันลองเอาถ่านจำนวนเล็กน้อยมาใช้ดับกลิ่น ระบายอากาศ ใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่คุณสามารถใช้ได้ในตู้เย็น ช่องน้ำแข็งในตู้เย็น การผลิตลิ้นชัก หรือสถานที่ต่างๆ เช่น ตู้ในห้องครัว ตู้รองเท้า หรือตู้เสื้อผ้า ยี่ห้อที่ฉันเจอคือ ยี่ห้อ脱臭炭 แต่ที่เว็บkenko.comมียี่ห้ออื่นๆอีกที่เป็นสินค้าชนิดเดียวกันนี้

คุณแค่ซื้อถ่านกัมมันต์มาหนึ่งกล่อง หรือถ่านไม้ไผ่ที่ร้านค้าตามท้องถิ่น แต่ฉันต้องการแบ่งปันตัวเลือกนี้ด้วยเช่นกัน

แต่ละชนิด ประกอบด้วยถ่านกัมมันต์ แม้ว่าแต่ละประเภทมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน (ตัวอย่างเช่น ช่องน้ำแข็งที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ สำหรับใครที่ไม่มั่นใจว่าถ่านที่คุณมีอยู่เป็นชนิดไหน (ฉันได้นำรูปภาพของชนิดต่างๆมาให้ดู เผื่อพวกคุณจะสงสัย) ดังนี้:
ใช้สำหรับตู้เย็น冷蔵庫用
ใช้สำหรับใส่ในลิ้นชัก 野菜室用
ใช้สำหรับช่องแช่แข็ง冷凍室用
ใช้สำหรับช่องใส่เนื้อสัตว์ チルド室用
ใช้สำหรับตู้ใส่รองเท้า 下駄箱用
ใช้สำหรับใต้อ่างล้างจานในห้องครัว キッチン・流しの下用
ใช้สำหรับตู้เสื้อผ้า クローゼット・押入れ用
คุณอาจสามารถพบสิ่งเหล่านี้ได้ (หรือผลิตภัณฑ์ที่คล้ายๆกันนี้) ที่ร้านค้าทั่วไป หรือร้านขายยา และคุณสามารถตรวจสอบ และสั่งซื้อได้ (ในยี่ห้อเหล่านั้น) บนเว็ปไซต์kenko.com (ลิงค์สามารถกดเพื่อเข้าสู่ตัวสินค้าได้เลย)